นโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย

ในยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (๒๕๖๐ – ๒๕๗๙) มีเป้าหมายหลักให้คน “อยู่ดี มีสุข” โดยเฉพาะเด็ก “ให้มีทักษะ พัฒนาการสมวัย แข็งแรง EQ สูง แก้ปัญหาเป็น วินัยดี มีคุณธรรม” แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ โดยมีหนึ่งในเป้าหมายสำคัญให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการเต็มตามศักยภาพ และสอดรับกับวิสัยทัศน์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙ ว่า “คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดํารงชีวิตอย่างเป็นสุขสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่๒๑”และยุทธศาสตร์ที่ ๓ การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัยและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้เด็กทุกคนมีการพัฒนารอบด้านตามวัยอย่างมีคุณภาพและได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพทั้งนี้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาจึงได้จัดทำ (ร่าง) แผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔ ได้กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยไว้ว่าการพัฒนามนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพต้องเริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิ โดยเฉพาะในช่วงปฐมวัยซึ่งเป็นรากฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืน และเป็นช่วงวัยที่พัฒนาการด้านสมองและการเรียนรู้เป็นไปอย่างรวดเร็วที่สุดในชีวิต หากเด็กไม่ได้รับการเลี้ยงดูและพัฒนาอย่างถูกต้องเหมาะสมเมื่อพ้นวัยนี้ไปแล้วโอกาสทองของการพัฒนาก็จะไม่หวนกลับมาอีก ความสำคัญในการพัฒนาเด็กปฐมวัยตั้งแต่ในครรภ์มารดาจึงไม่ใช่เพียงวาระแห่งชาติอีกต่อไป แต่กลับกลายเป็นวาระการพัฒนาของโลก ดังปรากฏในคำรับรองปฏิญญาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals : MDGs) ซึ่งที่ประชุมสุดยอดสหัสวรรษของสหประชาชาติซึ่งประกอบด้วยผู้นำประเทศต่างๆ ทั่วโลก ๑๘๙ ประเทศ ได้ร่วมกันกำหนดเป้าหมายการพัฒนาด้านเด็กปฐมวัย คือ การลดอัตราการตายของเด็กและการพัฒนาสุขภาพของสตรีมีครรภ์ เพื่อกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเด็กปฐมวัยของประเทศให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและมีความเชื่อมโยงกับทุกกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนในลักษณะของการบูรณาการ เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานสำหรับหน่วยงานทุกระดับทั้งในระดับนโยบายจนถึงระดับปฏิบัติ ดำเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษา เพื่อพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาให้สมกับวัย ปราศจากการกระทำด้วยความรุนแรงในทุกรูปแบบและเด็กเกิดการพัฒนาและเรียนรู้อย่างมีความสุข มีการปฏิบัติต่อเด็กทุกคนอาศัยหลักศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

กระบวนการการพัฒนาเด็กปฐมวัยของประเทศไทย เป็นสิ่งที่ภาครัฐให้ความสำคัญมาอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นช่วงเวลาที่ให้ผลของการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุดต่อการสร้างรากฐานของชีวิต ในการดำเนินงานต้องเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันหลายภาคส่วน เนื่องจากเด็กปฐมวัยเป็นวัยที่เริ่มต้นตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์มารดา จนถึงอายุ ๖ ปีบริบูรณ์  จึงได้บูรณาการหลายหน่วยงานที่จัดบริการพัฒนาเด็กปฐมวัย รวมทั้งการให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรชุมชน โดยในส่วนของภาครัฐ มีกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงศึกษาธิการเป็นหน่วยงานหลัก ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การบูรณาการความร่วมมือการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต ดังนี้

๑. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดำเนินการให้การอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดตามนโยบายของรัฐ โดยรัฐจัดให้มีโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดของรัฐในการจัดสวัสดิการพื้นฐานเพื่อเป็นการคุ้มครองทางสังคม ลดความเหลื่อมล้ำและเป็นหลักประกันสิทธิขั้นพื้นฐาน เพื่อส่งเสริมให้เด็กแรกเกิดได้รับการเลี้ยงดูอย่างมีคุณภาพและปฐมวัยมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย รายละ ๖๐๐ บาท ต่อคน ต่อเดือน ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ ๓ ปี กลุ่มเป้าหมายคือ เด็กแรกเกิดที่อยู่ในครัวเรือนยากจน นอกจากนี้ ยังมีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด และคณะอนุกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัยกรุงเทพมหานคร ภายใต้คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (กดยช.) เพื่อรับผิดชอบงานด้านเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมให้เกิดการขับเคลื่อนการดำเนินการพัฒนาเด็กปฐมวัยในระดับจังหวัดให้มีความชัดเจนเป็นรูปธรรม จังหวัดราชบุรี มีสถานรับเลี้ยงเด็กเอกชน ๑๑ แห่ง   มีเด็กจำนวน  ๔๒๑  คน

อ่านเพิ่มเติม

Advertisement
By punaoy

การเตรียมความพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ได้ปฏิรูประบบประเมินคุณภาพภายนอกและการรับรองมาตรฐานการศึกษา ที่สอดคลองกับการจัดการศึกษา ประกอบด้วย การจัดการศึกษาปฐมวัย (Early Childhood Education) การศึกษาขั้นพื้นฐาน(Basic Education)  การจัดการศึกษาอาชีวศึกษา (Technical and Vocational Education ) และการศึกษาอุดมศึกษา (Higher Education) โดยแบ่งออกเป็น ๒ วัตถุประสงค์ คือ การประเมินเพื่อพัฒนา (Assessment for Development) และการประเมินเพื่อรับรองมาตรฐาน (Assessment for Accreditation) อ่านเพิ่มเติม

By punaoy

การพัฒนาหลักสูตรเขตเศรษฐกิจพิเศษ

จาก เอกสารประกอบการอบรมหลักสูตรเศรษฐกิจพิเศษ มรภ. พระนครศรีอยุธยา

“เขตเศรษฐกิจพิเศษ” เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์ กลางเศรษฐกิจ และการขนส่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยใช้ประโยชน์จากการที่ไทยมีพื้นที่ชายแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้เป็นประตูรองรับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจ จังหวัดราชบุรีอยู่ในพื้นที่เชื่อมโยงเขตเศรษฐกิจพิเศษ

1

 การัดหลักสูตรการเรียนรู้จากการทำงาน (Work – based Learning)

การจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมผู้เรียนให้เกิดพัฒนาการทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้เนื้อหาสาระ การฝึกปฏิบัติจริง ฝึกฝนทักษะทางสังคม ทักษะชีวิต ทักษะวิชาชีพ การพัฒนาทักษะ การคิดขั้นสูง  โดยสถานศึกษาร่วมมือกับแหล่งงานในชุมชน สถานประกอบการ รับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนร่วมกัน ตั้งแต่การกำหนดวัตถุประสงค์ การกำหนดเนื้อหากิจกรรม และวิธีการประเมินผล

2

เป้าหมายการเรียนรู้ ผู้เรียนได้รับการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพของผู้เรียน

K P A C (K = Knowledge ,P = Process, A = AttributesและC = Competencies)

การขับเคลื่อนหลักสูตร อ่านเพิ่มเติม

By punaoy

การจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา

“สะเต็ม” หรือ “STEM” เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษของศาสตร์ 4 สาขาวิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology)  วิศวกรรมศาสตร์(Engineering) และคณิตศาสตร์(Mathematics)  หมายถึงองค์ความรู้ วิชาการของศาสตร์ทั้งสี่ที่มีความเชื่อมโยงกันในโลกของความเป็นจริงที่ต้องอาศัยองค์ความรู้ต่าง ๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันในการดำเนินชีวิตและการทำงาน  คำว่า STEM ถูกใช้ครั้งแรกโดยสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (the National Science Foundation: NSF) ซึ่งใช้คำนี้เพื่ออ้างถึงโครงการหรือโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์

อ่านเพิ่มเติม

By punaoy

การพัฒนาครูทั้งระบบ

แนวคิดในการพัฒนาครูทั้งระบบของกระทรวงศึกษาธิการ เริ่มตั้งแต่การเตรียมการเพื่อคัดเลือกผู้จะมาเรียนวิชาชีพครู กระบวนการผลิตครู การเข้าสู่ตำแหน่งและการพัฒนาความก้าวหน้าในอาชีพครูระหว่างปฏิบัติหน้าที่ กระบวนการดูแลครูเมื่อเกษียณอายุราชการและกระบวนการเชิดชูครูที่ยอมรับนับถือในคุณงามความดีและอุดมการณ์ของตน

ปี 2560 รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ มอบนโยบายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้จัดทำโครงการคูปองพัฒนาครูภายใต้โครงการพัฒนาครูทั้งระบบ ถือเป็นจุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของการพัฒนาครูในประเทศไทย เพราะมุ่งหวังให้ครูสามารถพัฒนาตนเองได้ตรงตามศักยภาพ สามารถนำความรู้จากการอบรมไปใช้ประโยชน์ได้จริงในการประกอบอาชีพครู อีกทั้งเป็นการพัฒนาครูเพื่อเชื่อมโยงกับวิทยฐานะ ในอนาคตครูทุกคนจะมี Logbook และมี e-Portfolio ในการสะสมชั่วโมง ว่าไปเข้ารับการอบรมหลักสูตรใดไปแล้วบ้างและใช้เงินคูปองการอบรมที่จะได้รับคนละ 10,000 บาทต่อปีไปแล้วเท่าไร โดยกระทรวงศึกษาธิการจะมีการประเมินผลหลักสูตรที่เป็นประโยชน์ต่อการประเมินวิทยฐานะของข้าราชการครู ซึ่งเน้นด้านปริมาณและคุณภาพ คือ ด้านปริมาณมุ่งหวังให้ครูสะสมชั่วโมงการสอนเพราะเชื่อว่าครูยิ่งสอนมากยิ่งเก่ง ด้านคุณภาพมุ่งให้ครูได้พัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอและสามารถนำผลการอบรมไปใช้ในการเลื่อนวิทยฐานะได้ในทุกระดับ ตั้งแต่ครูชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ จนถึงเชี่ยวชาญพิเศษ โดยจะให้ครูไปเข้ารับการอบรมในหลักสูตรที่ได้รับรองมาตรฐานตามวิทยฐานะจาก “สถาบันคุรุพัฒนา” สังกัดสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา สถาบันคุรุพัฒนาจะทำหน้าที่เสมือนฝ่ายวิชาการในการพัฒนาหลักสูตรการอบรมให้กับข้าราชการครู ซึ่งจะมีหน่วยงานจากทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอหลักสูตรการอบรมให้สถาบันคุรุพัฒนาพิจารณา อีกทั้งครูสามารถเลือกหลักสูตรที่จะเข้าอบรมได้เองด้วย ชั่วโมงการเข้ารับการอบรมจะนำไปรวมกับชั่วโมงการสอนของครูด้วย สำหรับหลักสูตรการพัฒนาครูประจำการ จะทำในรูปแบบ PLC (Professional Learning Community) หรือ “ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” ด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกัน เช่น การเอาปัญหาของนักเรียนมาหารือหรือหาวิธีแก้ปัญหาร่วมกัน มิใช่Lecture หรือการนำผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชามาบรรยาย แต่เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

อ่านเพิ่มเติม

By punaoy

ยุทธศาสตร์ชาติ  20 ปี

               การที่จะบรรลุวิสัยทัศน์และทำให้ประเทศไทยพัฒนาไปสู่อนาคตที่พึงประสงค์นั้น จำเป็นจะต้องมีการวางแผนและกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา   เพื่อถ่ายทอดแนวทางการพัฒนาสู่การปฏิบัติในแต่ละช่วงเวลา  สร้างความเข้าใจถึงอนาคตของประเทศไทยร่วมกัน เป็นการรวมพลังของทุกภาคส่วนในสังคมทั้งประชาชน เอกชน ประชาสังคมในการขับเคลื่อนการพัฒนา อันเป็นการสร้างและรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติ ให้บรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” หรือคติพจน์ประจำชาติ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” เพื่อให้ประเทศมีขีดความสามารถในการแข่งขัน มีรายได้สูงอยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว คนไทยมีความสุข อยู่ดี กินดี สังคมมีความมั่นคงเสมอภาคและเป็นธรรม  ยุทธศาสตร์ชาติเป็นกรอบแนวทางการพัฒนาในระยะ 20 ปี ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่

(1) ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง มีเป้าหมายทั้งในการสร้างเสถียรภาพภายในประเทศและช่วยลดและป้องกันภัยคุกคามจากภายนอก รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นในกลุ่มประเทศอาเซียนและประชาคมโลกที่มีต่อประเทศไทย

อ่านเพิ่มเติม

By punaoy

ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21

ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ทุกคนจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิตคือการเรียนรู้ 3R x 7C

3R คือ Reading : อ่านออก , Writing : เขียนได้, และArithmetic : คิดเลขเป็น
7C ได้แก่ (1) Critical Thinking and Problem Solving : ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ปัญหา (2) Creativity and Innovation : ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม (3) Cross-cultural Understanding : ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (4)  Collaboration, Teamwork and Leadership : ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ (5) Communications, Information, and Media Literacy : ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ (6)  Computing and ICT (Literacy : ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (7) Career and Learning Skills : ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้

By punaoy

ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills)

            ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills)
สาระวิชาก็มีความสำคัญ แต่ไม่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้เพื่อมีชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ ๒๑ ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา (content หรือ subject matter) ควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของศิษย์ โดย ครูช่วยแนะนำและช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเองได้                                                                                                                                                             สาระวิชาหลัก (Core Subjects) ประกอบด้วย ภาษาแม่ และภาษาสำคัญของโลก    ศิลปะ  คณิตศาสตร์ การปกครองและหน้าที่พลเมือง เศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์    ประวัติศาสตร์ โดย วิชาแกนหลักนี้จะนำมาสู่การกำหนดเป็นกรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์สำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ ในเนื้อหาเชิงสหวิทยาการ (Interdisciplinary) หรือหัวข้อสำหรับศตวรรษที่ 21 โดยการส่งเสริมความเข้าใจ ในเนื้อหาวิชาหลักและสอดแทรกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เข้าไปในทุกวิชาแกนหลัก ดังนี้
1.ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย (1) ความรู้เกี่ยวกับโลก : Global Awareness  (2) ความรู้เกี่ยวกับการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ :Financial, Economics, Business and Entrepreneurial Literacy  (3) ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี :Civic Literacy  (4) ความรู้ด้านสุขภาพ : Health Literacy  (5) ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม :Environmental Literacy

อ่านเพิ่มเติม

By punaoy

การศึกษาทศวรรษที่ 21

ศตวรรษที่ 21 ระบบการศึกษาต้องพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับโลกยุคดิจิทัล               

          ในประเทศสหรัฐอเมริกาแนวคิดเรื่อง “ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21” ได้ถูกคิดและพัฒนาโดยภาคธุรกิจจากวงการนอกการศึกษา ประกอบด้วย บริษัทเอกชนชั้นนำขนาดใหญ่ เช่น บริษัทแอปเปิ้ล บริษัทไมโครซอฟ บริษัทวอล์ดิสนีย์ องค์กรวิชาชีพระดับประเทศ และสำนักงานด้านการศึกษาของรัฐ รวมตัวและก่อตั้งเป็นเครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Partnership for 21st Century Skills) หรือเรียกย่อๆว่า เครือข่าย P21  หน่วยงานเหล่านี้มีความกังวลและเห็นความจำเป็นที่เยาวชนจะต้องมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกแห่งศตวรรษที่21ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ 19 จึงได้พัฒนาวิสัยทัศน์และกรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ขึ้น สามารถสรุปทักษะสำคัญอย่างย่อๆ ที่เด็กและเยาวชนควรมีได้ว่า ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม หรือ 3R  และ 4C ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้ 3 R ได้แก่ Reading (การอ่าน), การเขียน(Writing) และ คณิตศาสตร์ (Arithmetic)และ4C (Critical Thinking – การคิดวิเคราะห์, Communication- การสื่อสาร Collaborationการร่วมมือ และCreativity-ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงทักษะชีวิตและอาชีพ และทักษะด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี และการบริหารจัดการด้านการศึกษาแบบใหม่

By punaoy