การประกันคุณภาพ

แนวคิดการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา

พรบ.การศึกษาแห่งชาติ ..๒๕๔๒

มาตรา ๔๗ กำหนด “ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ทุกระดับ ประกอบด้วย ระบบการประกันคุณภาพภายใน และระบบการประกันคุณภาพภายนอก”         มาตรา ๔๘ ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อสาธารณชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา และเพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอก

 

กฎกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยระบบหลักเกณฑ์วิธีการประกันคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๒๕๕๓

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ และมาตรา ๔๗ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๓ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังนี้

ข้อ  ในกฎกระทรวงนี้

การประเมินคุณภาพภายใน หมายความว่า การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาการติดตาม และการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศกำหนดสำหรับการประกันคุณภาพภายใน ซึ่งกระทำโดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นหรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษา

การประเมินคุณภาพภายนอก หมายความว่า การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา การติดตาม และการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ซึ่งกระทำโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือผู้ประเมินภายนอก

การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา หมายความว่า กระบวนการติดตามตรวจสอบความก้าวหน้าของการปฏิบัติตามแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และจัดทำรายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา พร้อมทั้งเสนอแนะมาตรการเร่งรัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

การพัฒนาคุณภาพการศึกษา หมายความว่า กระบวนการพัฒนาการศึกษาเข้าสู่คุณภาพที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของชาติ โดยมีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา การจัดระบบและโครงสร้าง การวางแผน และการดำเนินงานตามแผน รวมทั้งการสร้างจิตสำนึกให้เห็นว่าการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของทุกคน

สำนักงาน หมายความว่า สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)

 หมวด

บททั่วไป

ข้อ  ระบบการประกันคุณภาพภายในเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและพัฒนามาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ต้องประกอบด้วย

(๑) การประเมินคุณภาพภายใน

(๒) การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา

(๓) การพัฒนาคุณภาพการศึกษา

ข้อ  ระบบการประกันคุณภาพภายนอกเพื่อรับรองมาตรฐานและมุ่งพัฒนาคุณภาพการศึกษา  ทุกระดับต้องประกอบด้วย

(๑) การประเมินคุณภาพภายนอก

(๒) การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา

ข้อ  ให้สถานศึกษาดำเนินการประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปีโดยเน้นผู้เรียน    เป็นสำคัญ ทั้งนี้ ด้วยการสนับสนุนจากหน่วยงานต้นสังกัดและการมีส่วนร่วมของชุมชน

ข้อ ให้สถานศึกษาจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายในเสนอต่อ

คณะกรรมการสถานศึกษา หน่วยงานต้นสังกัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาและเปิดเผยรายงานนั้นต่อสาธารณชน

ข้อ สถานศึกษาต้องนำผลการประเมินคุณภาพทั้งภายในและภายนอกไปประกอบการ

จัดทำแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา

 หมวด

การประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

ส่วนที่ การศึกษาขั้นพื้นฐาน

ข้อ การประกันคุณภาพภายในที่กำหนดในส่วนนี้ ให้ใช้บังคับแก่การจัดการศึกษา

ขั้นพื้นฐาน แต่ไม่รวมถึงการจัดการอาชีวศึกษา

ข้อ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการประกันคุณภาพภายในระดับ

การศึกษาขั้นพื้นฐาน” ประกอบด้วย

(๑) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตาม (๓) ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง เป็นประธานกรรมการ

(๒) เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นรองประธานกรรมการ

(๓) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ

การศึกษาขั้นพื้นฐาน จากผู้มีความรู้ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในด้านการจัดการศึกษาการบริหารสถานศึกษา หรือการประเมินการจัดการศึกษา จำนวนไม่เกินเก้าคนเป็นกรรมการซึ่งในจำนวนนี้จะต้องแต่งตั้งจากบุคคลที่ไม่เป็นข้าราชการหรือพนักงานมหาวิทยาลัยที่มีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำจำนวนไม่น้อยกว่าห้าคนให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานแต่งตั้งข้าราชการของสำ นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งดูแลงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา เป็นกรรมการและเลขานุการ

ข้อ ๑๓ คณะกรรมการประกันคุณภาพภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีอำนาจหน้าที่

ดังต่อไปนี้

(๑)   วางระเบียบหรือออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับ

การประกันคุณภาพภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการประกันคุณภาพภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

(๒)   เสนอแนะแนวทางปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาแก่สถานศึกษาโดยให้

นำผลการประเมินคุณภาพทั้งภายในและภายนอกไปปรับปรุงคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

(๓)   แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในระดับ

การศึกษาขั้นพื้นฐาน

(๔) ปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่รัฐมนตรีหรือคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

มอบหมาย

ข้อ ๑๔ ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยดำเนินการดังต่อไปนี้

(๑) กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

(๒) จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐาน

การศึกษาของสถานศึกษา

(๓) จัดระบบบริหารและสารสนเทศ

(๔) ดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

(๕) จัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา

(๖) จัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

(๗) จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน

(๘) จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้สถานศึกษายึดหลักการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยการส่งเสริม สนับสนุน และกำกับดูแลของหน่วยงานต้นสังกัดสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ไม่สามารถปฏิบัติงานบางประการตามที่กำหนดในวรรคหนึ่งได้ให้หน่วยงานต้นสังกัดหรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา แล้วแต่กรณี ประกาศผ่อนผันการปฏิบัติและวางแนวทางในการประกันคุณภาพภายในให้เหมาะสมกับสภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษานั้นแล้วรายงานให้รัฐมนตรีทราบ

ข้อ ๑๕ การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาตามข้อ ๑๔ (๑) ต้องสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของชาติ เอกลักษณ์ของสถานศึกษา และมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศกำหนด และต้องครอบคลุมสาระการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้ รวมทั้งคำนึงถึงศักยภาพของผู้เรียน ชุมชน และท้องถิ่นด้วย

ข้อ ๑๖ การจัดทำ แผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาตามข้อ ๑๔ (๒)

ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้

(๑) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการที่จำเป็นของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ

(๒) กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และความสำเร็จของการพัฒนาไว้อย่าง

ชัดเจนและเป็นรูปธรรม

(๓) กำหนดวิธีดำเนินงานที่มีหลักวิชา ผลการวิจัย หรือข้อมูลเชิงประจักษ์ที่อ้างอิงได้

ให้ครอบคลุมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้

การส่งเสริมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล การพัฒนาบุคลากร และการบริหารจัดการ เพื่อนำไปสู่

มาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้

(๔) กำหนดแหล่งวิทยาการภายนอกที่ให้การสนับสนุนทางวิชาการ

(๕) กำหนดบทบาทหน้าที่ให้บุคลากรของสถานศึกษาและผู้เรียนรับผิดชอบและ

ดำเนินงานตามที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

(๖) กำหนดบทบาทหน้าที่และแนวทางการมีส่วนร่วมของบิดา มารดา ผู้ปกครอง

และองค์กรชุมชน

(๗) กำหนดการใช้งบประมาณและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

(๘) จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี

ข้อ ๑๗ ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาวิเคราะห์ วิจัย และเผยแพร่นวัตกรรมเกี่ยวกับรูปแบบและเทคนิควิธีการประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งส่งเสริม สนับสนุน และร่วมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

ข้อ ๑๘ ให้หน่วยงานต้นสังกัดของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกสามปีและแจ้งผลให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานทราบรวมทั้งให้เปิดเผยผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาต่อสาธารณชน

ข้อ ๒๓ การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาตามข้อ ๒๒ (๑) ต้องสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของชาติ และมาตรฐานการศึกษาการอาชีวศึกษาตามที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศกำหนด และต้องครอบคลุมสมรรถนะวิชาชีพทุกหลักสูตรและสาขาวิชา รวมทั้งเหมาะสมกับสภาพผู้เรียน สถานศึกษา สถานประกอบการ ชุมชน ท้องถิ่นและเทคโนโลยี

ข้อ ๒๕ การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาตามข้อ ๒๒ (๒) จะต้องสอดคล้องกับแนวทางที่สถานศึกษาได้กำหนดไว้ ดังต่อไปนี้

(๑) วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย กลยุทธ์ และแผนดำเนินการของสถานศึกษา

(๒) กระบวนการเรียนรู้และการฝึกประสบการณ์

(๓) การวิจัยและนวัตกรรม

(๔) การบริการทางวิชาการแก่ชุมชนและสังคม

(๕) การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา และนันทนาการ

(๖) การบริหารและการจัดการสถานศึกษา

(๗) การพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา

(๘) การเงินและงบประมาณของสถานศึกษา

 

หมวด

การประกันคุณภาพภายนอก

ข้อ ๓๗ การประกันคุณภาพภายนอกให้คำนึงถึงจุดมุ่งหมายและหลักการ ดังต่อไปนี้

(๑) เพื่อให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

(๒) ยึดหลักความเที่ยงตรง เป็นธรรม และโปร่งใส มีหลักฐานข้อมูลตามสภาพ

ความเป็นจริงและมีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้

(๑)   สร้างความสมดุลระหว่างเสรีภาพทางการศึกษากับจุดมุ่งหมายและ

หลักการศึกษาของชาติ โดยให้มีเอกภาพเชิงนโยบาย ซึ่งสถานศึกษาสามารถกำหนดเป้าหมายเฉพาะและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เต็มตามศักยภาพของสถานศึกษาและผู้เรียน

(๒)   ส่งเสริม สนับสนุน และร่วมมือกับสถานศึกษาในการพัฒนาระบบการประกัน

คุณภาพภายในของสถานศึกษา

  • ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการประเมินคุณภาพ และพัฒนาการจัดการศึกษาของรัฐเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพสถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น

(๔)   ความเป็นอิสระ เสรีภาพทางวิชาการ เอกลักษณ์ ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์

พันธกิจและเป้าหมายของสถานศึกษา

ข้อ ๓๘ ในการประกันคุณภาพภายนอก ให้สำนักงานทำการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาแต่ละแห่งตามมาตรฐานการศึกษาของชาติและครอบคลุมหลักเกณฑ์ในเรื่อง ดังต่อไปนี้

(๑) มาตรฐานที่ว่าด้วยผลการจัดการศึกษาในแต่ละระดับและประเภทการศึกษา

(๒) มาตรฐานที่ว่าด้วยการบริหารจัดการศึกษา

(๓) มาตรฐานที่ว่าด้วยการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

(๔) มาตรฐานที่ว่าด้วยการประกันคุณภาพภายในในกรณีที่มีความจำเป็นต้องทำการประเมินคุณภาพภายนอกจากมาตรฐานอื่นเพิ่มเติมจากมาตรฐานที่กำหนดในวรรคหนึ่ง ให้สำนักงานประกาศกำหนดมาตรฐานอื่นได้โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี

ข้อ ๓๙ วิธีการในการประกันคุณภาพภายนอก ให้เป็นไปตามระเบียบที่สำนักงานกำหนด

ข้อ ๔๐ ในกรณีที่ผลการประเมินคุณภาพภายนอกแสดงว่า ผลการจัดการศึกษาของสถานศึกษาได้ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ให้สำนักงานแจ้งเป็นหนังสือพร้อมแสดงเหตุผลที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานแก่หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษานั้น และให้สถานศึกษานั้นปรับปรุงแก้ไขโดยจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพและดำเนินการตามแผน เพื่อขอรับการประเมินใหม่ภายในสองปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการประเมินครั้งแรกให้สถานศึกษาเสนอแผนพัฒนาคุณภาพต่อสำนักงานเพื่อพิจารณาอนุมัติภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการประเมินตามวรรคหนึ่ง

ข้อ ๔๑ ในกรณีที่สถานศึกษาไม่ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขภายในกำหนดเวลาตามข้อ ๔๐ให้สำนักงานรายงานต่อคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษาหรือคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือหน่วยงานต้นสังกัดอื่น แล้วแต่กรณี เพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป

ใส่ความเห็น